เมืองปราณบุรี นับว่าเป็นเมืองสำคัญเมือง หนึ่ง เพราะเคยใช้เป็นชื่อเมืองประจวบคีรีขันธ์มาครั้งหนึ่ง และเมืองปราณบุรีก็มาก่อนเมืองประจวบคีรีขันธ์
เมืองปราณบุรี เป็นเมืองเก่าเมืองหนึ่งทางภาค ใต้ของอณาจักรไทยมาแต่สมัยโบราณ เป็นเมืองที่มีและเกิดขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี แต่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าตั้งขึ้นเมื่อใด เพิ่งปรากฏในกฎหมายตรา 3 ดวง ซึ่งพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้โปรดเกล้าให้ชำระขึ้น มีความว่า สมัยพระบรมไตรโลกนาถเป็นพระเจ้าแผ่นดิน สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี มีพระบรมราชโองการสั่งว่า บรรดาข้าราชการอยู่ ณ หัวเมืองปักษ์ใต้ฝ่ายเหนือทั้งปวง ให้ถือศักดินาตามตามพระราชบัญญัติศักดินาหัวเมือง บัญญัติไว้ว่า พระปราณบุรี เจ้าเมืองปราณได้ถือศักดินา 3,000 เป็นเมืองจัตวา ศุภมัศดุ 1298 (พ.ศ.1919)
นอกจากนี้แล้วยังปรากฏตามพระราช พงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ในสมัยสมเด็จพระนเรศวร มหาราช เมืองตะนาวศรี (เดี๋ยวนี้ขึ้นจังหวัดมะริด ประเทศพม่า) เกิดเป็นกบฏ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้ารับสั่งให้สมเด็จพระเอกาทศรถ พระราชอนุชายกทัพจากกรุงศรีอยุธยาไปปราบกบฏเมืองตะนาวศรี สมเด็จพระเอกาทศรถได้เสด็จยกทัพผ่านเมืองปราณบุรี เพราะเป็นทางผ่านไปยังเมืองตะนาวศรี
เมืองปราณบุรี เดิมขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ ครั้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้แบ่งหัวเมืองต่างๆทางฝ่ายใต้ขึ้นกับกลาโหม มหาดไทยและกรมท่า ทำการปกครอง เมืองปราณฯบุรีมีชื่อปรากฏว่าให้ขึ้นต่อกลาโหม
อาณาเขตเมือง อาณาเขตเมืองในสมัยนั้นกว้าง ขวางมาก ทิศใต้จรดคลองบางปูฝ่ายเหนือ ทางทิศเหนือติดต่อกับเขตอำเภอหนองจอก (ต่อมาย้ายที่ตั้งและเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี) ทางทิศตะวันออกจรดอ่าวไทย ทิศตะวันตกจรดเขาตะนาวศรี ประเทศพม่า ท้องที่ในสมัยนั้นยังไม่มีตำบลหัวหิน เพราะตำบลหัวหินได้เกิดและ ตั้งขึ้นภายหลัง
ที่ทำการเมือง
ที่ทำการเมือง หรือที่เรียกว่า ศาลากลาง เมืองปราณบุรีได้เคยตั้งอยู่หลายแห่ง ตามลำดับ ดังนี้
1. แต่เดิมศาลากลางเมือง ตั้งอยู่ที่บ้านเมืองเก่า คือ ตำบลปราณบุรีในปัจจุบัน
2. ต่อมาใน พ.ศ.2449 ได้ย้ายที่ทำการไปตั้งที่อาคารตึกตำบลปากคลองปราณ (ตึกและที่ดินริมน้ำ โดยเฉพาะตัวตึกตั้งอยู่ริมน้ำ ขณะนี้ตัวตึกถูกกระแสน้ำกัดเป็นคลองไปแล้ว ยังคงอยู่แต่ที่ดิน บริเวณปัจจุบันนี้ตกเป็นที่ดินราชพัสดุ ให้ราษฎรเช่าปลูกบ้านอาศัย)
3. ย้ายจากปากคลองปราณมาตั้งอยู่ที่สถานีรถไฟปราณบุรีด้านตะวันออกริมแม่ น้ำ ในตำบลเมืองเก่า เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ.2459 จนถึง พ.ศ. 2520 รวมเวลา 60 ปี จึงถูกย้ายจากที่ว่าการอำเภอไปตั้งใหม่ ที่ หมู่ที่ 3 บ้านเขาน้อย ติดกับถนนเพชรเกษม ณ ที่ดินของกระทรวงกลาโหม เมื่อ พ.ศ.2520
ข้อมูลทั่วไป